อึงอ่าง

         อึ่งอ่าง หรือ อึ่งยาง (อังกฤษAsian narrowmouth toads) เป็นสกุลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกกบในสกุล Kaloula ในวงศ์อึ่งอ่าง(Microhylidae) วงศ์ย่อย Microhylinae

พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์ ลักษณะโดยทั่วไป มีผิวหนังมันลื่น มีสีนํ้าตาลลายขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน มักร้องเสียงดังเมื่อนํ้านองโดยเฉพาะหลังฝนตกที่มีอากาศเย็นชื้น เสียงร้องดังระงม

          อึ่งอ่างบ้าน หรือ อึ่งยาง (ชื่อวิทยาศาสตร์Kaloula pulchra) หรือที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า อึ่งอ่าง เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์อึ่งอ่าง(Microhylidae)

มีลำตัวอ้วนกลม ไม่มีคอ หัวกว้าง และปลายปากแหลมไม่มาก ขาและแขนค่อนข้างสั้น มีความยาวไล่เลี่ยกัน นิ้วมือและนิ้วเท้า ตอนปลายแผ่แบน และตัดตรงทางด้านหน้า ผิวหนังเรียบลื่น มีปุ่มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วหลังและมากในขาคู่หลัง ใต้ฝ่าเท้ามีแผ่นแข็งยาวสองแผ่นใช้ในการขุดดิน ลำตัวด้านหลังสีออกน้ำตาลคล้ำ หรือน้ำตาลแกมแดง มีลายแถบกว้างสีน้ำตาลอ่อนพาด ตั้งแต่เหนือลูกตาจนถึงโคนขาทั้งสองข้าง ตรงปลายบนสุดแต่ละแถบยังเชื่อมต่อกันระหว่างลูก ตาทั้งสองข้าง ปลายล่างสุดในบางตัวลายแถบจะแตกออกเป็นปื้น ๆ แต่ยังอยู่ในแนวเดิม ใต้ ท้องสีออกคล้ำ โดยเฉพาะใต้คางมีสีเกือบดำ บริเวณอื่น ๆ เป็นลายตาข่ายสีออกม่วงคล้ำ ๆ เห็นไม่ชัดเจนนัก ยกเว้นในบางตัวที่มีขนาดใหญ่มาก

มีขนาดความยาวจัดจากปลายปากจนถึงก้นประมาณ 58–70 มิลลิเมตร มีอายุยืนเต็มที่ประมาณ 10 ปี

มีการแพร่กระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวาง ตั้งแต่อินเดียศรีลังกาจีนตอนใต้, พม่าเวียดนามลาวกัมพูชาไทย จนถึงคาบสมุทรมลายู

ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ด้วยการขุดดินลึกลงไปซ่อนตัวอยู่ เลือกดินที่ชื้นและร่วนซุย เมื่อฝนตกจึงจะออกมาหากินเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน มักพบในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม เมื่อถูกรบกวนจะพองตัวออกจนกลมป่องคล้ายลูกบอล เสียงร้องจะเรียงเสียงว่า “อึ่ง ๆ “ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก

ในช่วงชุกชุมมักถูกจับกินเป็นอาหารสำหรับบางพื้นที่[4] โดยเฉพาะกินในตัวที่มีไข่อยู่เต็มท้อง ก็จะมีราคาขายที่สูงด้วย

การจำแนก

ปัจจุบันจำแนกออกได้มีประมาณ 17 ชนิด บางแหล่งข้อมูลยกให้ K. macrocephala Bourret 1942 เป็นชนิดที่ถูกต้อง ในขณะที่เว็บไซต์สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกโลกถือว่าเป็นชื่อพ้องของชนิด K. pulchra มี 2 ชนิดที่เพิ่งได้รับการอธิบายถึง (เมื่อปี ค.ศ. 2013) และมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้รับการบรรยาย

ในประเทศไทยพบอย่างน้อย 3 ชนิด

 

             ที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/อึ่งอ่าง

ใส่ความเห็น